Diclofenac in Thailand a threat to vultures

New Balance 997.5 For Sale New Balance 997.5 For Sale

ไดโคลฟีแนคในประเทศไทย : ภัยคุกคามของอีแร้ง

ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) เป็นยาต้านอักเสบในกลุ่ม non-steridal anti-inflammatory drugs (NSAID) ที่มีรายงานว่าปนเปื้อนในซากโค เมื่ออีแร้งในอนุทวีปอินเดียกินซากที่ปนเปื้อนยาไดโคลฟีแนค
เข้าไปสะสมในร่างกายปริมาณมาก เหนี่ยวนำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน ทำให้ประชากรของอีแร้งประจำถิ่น ประกอบด้วย พญาแร้ง อีแร้งเทาหลังขาว และอีแร้งสีน้ำตาลปากยาว ลดลงอย่างรวดเร็ว
มากกว่า 90% ในทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประชากรอีแร้งประจำถิ่นในประเทศอินเดียและประเทศเพื่อนบ้าน ตกอยู่ในสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
ยังมีรายงานอีกว่าไดโคลฟีแนคเป็นพิษต่ออีแร้งน้ำตาลหิมาลัย (Das et al., 2013) ซึ่ง
เป็นนกอพยพ และอีแร้งหิมาลัย 1 ใน 2 ชนิดที่เข้ามาในประเทศไทยในฤดูหนาว

ในประเทศไทย พบว่ายาไดโคลฟีแนค มีใช้ในวงการแพทย์สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบ และตั้งแต่ พ.ศ. 2555 พบการใช้ยาไดโคลฟีแนคในรูปแบบยาฉีดในวงการปศุสัตว์ ในฟาร์มโคและแพะ อย่างน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ไชยพัศร์ ธำรงยศวิทยากุล 2562 การสังเกตุส่วนบุคคล; ภาพประกอบ) ดังนั้นอาจจะมีการปนเปื้อนในซากสัตว์ที่มีการใช้ยาก่อนที่สัตว์จะตาย และไม่มีมาตรการถอนยาเพื่อให้ยาถูกขับออกจากร่างกายของสัตว์ก่อนจะมีการนำไปใช้บริโภค

เอกสารอ้างอิง :
Das, D., R. Cuthbert, R.D. Jakati and V. Prakash. 2013. Diclofenac is toxic to the Himalayan Vulture Gyps himalayensis. Bird Conservation International 21 (1): 72-75.
ภาพประกอบ https://images.app.goo.gl/Z8r39mQ5fhbxKc8D8

++++++++++++++++++++++++++++++++++

นายสัตวแพทย์ ดร. ไชยยันต์ เกษรดอกบัว
หัวหน้าหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ
โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตรศาสตร์
trogon@gmail.com