Black Baza Migration in Thailand 25-26 October 2014

New Balance 997.5 For Sale New Balance 997.5 For Sale

เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำเป็นเหยี่ยวอพยพในสกุล Aviceda กินแมลงนานาชนิดเป็นอาหารหลัก ในแต่ละปีช่วงฤดูกาลอพยพต้นหนาว (autumn) ระหว่างสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคมถึงสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนพฤศจิกายน พบว่าเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำมากกว่า 80,000 ตัว อพยพผ่านประเทศไทย ณ จุดสำรวจเหยี่ยวอพยพเขาเรดาร์ อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำเป็นเหยี่ยวอพยพ 1 ใน 6 ชนิดหลักที่มีจำนวนมากที่สุดจากเหยี่ยวอพยพทั้งหมดมากกว่า 200,000 ตัวที่อพยพผ่านภาคใต้ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เส้นทางอพยพของเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำยังไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากขาดข้อมูลการอพยพจากภาคอื่นๆ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิะีการหนึ่งคือการสำรวจจำนวนของเหยี่ยวพร้อมกันทั่วประเทศในช่วงเวลาที่เหยี่ยวจะอพยพผ่านประเทศไทย

กลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีในประเทศไทย (Thai Raptor Group) จึงจะสำรวจเส้นทางอพยพของเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำทั่วประเทศพร้อมกัน ในวันที่ 25-26 ตุลาคม 2557 โดยขอความร่วมมือจากนักดูนก ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นฝูงเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ (ฝูงหนึ่งๆ ประกอบด้วยเหยี่ยว 100-500 ตัว) ที่เดินทางไปจุดสำรวจหลัก ต่อไปนี้ 10 จุดสำรวจ
1. วัดพระธาตุดอยคำ อำเภอเมือง จ.เชียงใหม่
2. อถทยานแห่งชาติภูพาน จ.สกลนคร
3. มอหินขาว อุทยานแห่งชาตภูแลนคา จ.ชัยภูมิ
4. อช. แก่งกระจาน (ด่านโง) จ.เพชรบุรี
5. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนมหาชัย จ. สมุทรสาคร
6. วัดเขายี่สาร อำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม
7. ด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์
8. เขาเรดาร์ อำเภอบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
9. อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล
10. ด่านทุ่งแฝก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

และจุดอื่นๆ ที่อาจจะพบฝูงเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำอพยพ ดังต่อไปนี้
1. ภาคเหนือ
- วัดท่าตอน อำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย
- จังหวัดน่าน

2. ภาคอีสาน/ภาคกลาง
- อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฝั่งปราจีนบุรี (บริเวณปากทางเข้า หรือบนเขาเขียว)
- บึงโขงหลง จ. บึงกาฬ
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

3. ภาคตะวันตก
- ช่องเย็น อช.แม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร
- เขากระโจม อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

4. ภาคใต้
- เขาดินสอ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
- น้ำตกกรุงชิง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เขารามโรม จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- ชายทะเล จังหวัดภูเก็ต

ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมในการสำรวจ สามารถขอรายละเอียดเส้นทางไป ณ จุดสำรวจหลักไดที่เพจของกลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรี ที่ www.facebook.com/ThaiRaptorGroup.TRG

หรือพบเห็นฝูงเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำในวันสำรวจหรือในวันอื่นๆ
ขอความร่วมมือรายงานการพบ พร้อมรายละเอียดดังนี้

1. จำนวนของเหยี่ยวในฝูงโดยประมาณ เช่น 10+, 50+,100+, 200+, 500+ ตัว
2. สถานที่พบ
3. วันที่และเวลาที่พบ
4. ภาพถ่ายฝูงเหยี่ยวกิ้งก่าสีดำที่พบ(ถ้ามี)
ส่งข้อมูลข้างต้นรายงานที่ www.facebook.com/ThaiRaptorGroup.TRG แล้วกลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีจะสรุปผลการสำรวจทั่วประเทศครั้งนี้เผยแพร่บนเว็บ Siam Avifauna www.BirdsofThailand.org